วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ศัพท์เกี่ยวกับหุ้นนิด ๆๆ หน่อย ๆๆ

จากภาพ ตำแหน่งสูงสุดของคลื่น 1 กับ 3 เราจะบอกว่า 3 ทำ new high แปลว่าจะขึ้นต่อไป
ส่วนตำแหน่ง 2 กับ 4 เรียกว่า ปรับฐาน หรือ retracement แปลว่าจะลงชั่วคราวเดี๋ยวมาอีกรอบแน่ๆ
คำสุดท้าย rebound แปลว่าการปรับราคาสูงขึ้นเพื่อจะลงต่อ ตรงกับตำแหน่ง a-b ในภาพ
แต่คำว่า rebound ก็สามารถใช้ในกรณีที่มีการปรับฐานอย่างรุนแรง, ยืดเยื้อ หรือ panic ได้เหมือนกัน
ตามสถิติมักจะเกิดที่ตำแหน่งที่ 4 โดยสังเกตได้ว่า การ rebound จะไม่ทำ new high 

ราคายาง เนื่องจากสถานะการน้ำท่วม

ขณะที่ราคายาง​แผ่นดิบ​ในตลาดจริง​ได้ร่วงลงมาอยู่ที่ 94 บาท/กก. ​ซึ่งสา​เหตุ​เป็น​เพราะค่ายรถยนต์ของญี่ปุ่น​ทั้งนิสสัน​และ​โต​โยต้าขยาย​เวลาระงับ​การผลิต​ไปจน​ถึงกลาง​เดือนนี้ ​ซึ่งประ​เทศ
​ไทยถือ​เป็นฐาน​การผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญ ​จึงส่งผลต่อ​การผลิตรถยนต์​ในต่างประ​เทศด้วย ประกอบกับ​ความต้อง​การยางของ
จีน​ในระยะนี้ยังทรงตัว ​เนื่องจากยังมีสต๊อกอยู่มาก
"วันนี้ RSS3 ​ทำนิว​โลว์ต่ำสุด​ในรอบปีที่ 109.40 บาท ราคาร่วงหนักกว่าช่วง​เกิดสึนามิ​ในญี่ปุ่น​เมื่อต้นปี" ​โบรก​เกอร์
ระบุ
คาด​การณ์พรุ่งนี้ ​แนวรับอยู่ที่ 103.00 บาท/กก. ​และ​แนวต้านอยู่ที่ 114.50 บาท/กก.
 
ขอบคุณข้อมูลจาก -อิน​โฟ​เควสท์

เลื่อนระยะเวลาปรับค่าแรงขั้นต่ำ

เนื่องค่าปัญหาน้ำท่วม ยังไม่ลดและนายจ้างที่ต้องรับภาระการซ่อมแซมเครื่องจักรที่เสียหายเนื่องจากน้ำท่วมส่งผลให้ระยะเวลาที่ประกาศปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่ 300 บาทนั้นคงไปได้ยาก โดยพื้นที่โรงงานที่ได้รับผมกระทบโดยตรงนั้น ต้องศึกษาความเป็นไปได้ด้านเศรษฐกิจที่เกิดขั้น สินค้าบางส่วนก็ขาดตลาด ในส่วนพื้นที่ ที่ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงอาจก็มีการปรับค่าจ้างตามอัตราที่เหมาะสมอยู่

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สรุปข่าวเศรษฐกิจวันที่ 5-6 พ.ย.2554

เศรษฐกิจ

18:33 น.มูดีส์เผยเหตุน้ำท่วมในไทย ไม่ได้ส่งผลกระทบต่ออันดับความน่าเชื่อถือของ 9 บริษัท ที่มูดีส์เคยจัดอันดับให้แม้อันดับความน่าเชื่อถือของไทยอยู่ Baa1 แต่ไทยได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

05:00 น.ธอส.พร้อมปล่อยสินเชื่อใหม่และพักชำระหนี้ให้ลูกค้าโดนผลกระทบน้ำท่วม ทั้งต้นและดอกนาน 6 เดือน พร้อมยืดเวลาอีก 6 เดือนหากลูกค้าตกงาน

การศึกษา

18:27 น.รมว.สาธารณสุข เผยน้ำท่วมทำให้สถานบริการสาธารณสุขเสียหายมากกว่า 400 แห่ง พร้อมจัดทำแผนฟื้นฟูสถานบริการหลังน้ำลด แนะ ผู้ประสบภัย หากจำเป็นต้องอาบน้ำที่ท่วมขัง ควรแกว่งสารส้มให้ตกตะกอนก่อน

22:00 นสธ.สั่งระดมทีมแพทย์กว่า 200 ทีมออกตรวจตราผู้ประสบภัยในเขต กทม. ไม่เว้นวันหยุด เน้นตรวจโรคฉี่หนู

22:46 น.กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจพบอาหารมีสารปนเปื้อนเชื้ออุจจาระร่วง แนะหลีกเลี่ยงบริโภคน้ำแข็งและเครื่องดื่มผสมน้ำแข็ง

23:04 น.ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ยันพระประธานพุทธมณฑลไม่ได้รับผลกระทบหลังถูกน้ำท่วม ส่วนที่ทำการต้องย้าย เผยขโมยเริ่มก่อกวน

23:21 น.ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิศวะจุฬาฯ ติงอีเอ็มทั้งชนิดน้ำ และก้อนที่รัฐฯ แจกนั้นแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียไม่ได้ ซ้ำจะก่อให้เกิดน้ำเน่ามากขึ้น

03:00 น.กรมควบคุมมลพิษลุยกำจัดคราบน้ำมันในซอยพระตำหนักจักรีบงกช ระบุไม่เป็นอันตราย แต่ทำให้เกิดอาการคันได้ เผยเขตบางพลัดน้ำเริ่มเน่าเสียและมีกลิ่นเหม็น เหตุขยะไหลรวมมากับน้ำ

06:00 น.กรมควบคุมมลพิษ โต้จุฬาฯ ยันอีเอ็มบำบัดน้ำเสียได้ผล สามารถย่อยสลายทำให้สภาพน้ำดีขึ้นจากการทดลองในจ.ลพบุรี อยุธยา นครสวรรค์ และชัยนาท
ทั่วไทย

19:21 น.ผบ.ตร. เปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยพื้นที่ บก.น.8 และ บก.น.9 ชี้สถานการณ์กรุงเทพฯ ยังน่าห่วง ด้าน ผบช.น.ห่วงอีก 7 วันน้ำทะเลหนุนสูงอีก หวั่น เขตฝั่งธนบุรีเกิดวิกฤติที่สุดในกรุง

20:15 น.คนร้ายซุ่มใช้ลูกซองยาวยิงเสี่ยไร่อ้อยเมืองกาญจน์ดับ กระสุนทะลุกลางหลัง 7 รู ฝังใน 2 รู ตร.มุ่งปมความแค้นส่วนตัว เร่งล่าตัวคนร้ายต่อไป

20:34 นสถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.ปราจีนบุรี ลดลงอยู่ในภาวะปกติ เหลือเพียงในพื้นที่อำเภอบ้านสร้าง ที่น้ำลดจากผิวถนนแล้ว แต่ได้สร้างความเสียหายให้กับถนนในหลายเส้นทาง

21:00 น.คณะแพทย์คุมเข้มยกโต๊ะ เก้าอี้ ตู้ ปิดทางเข้าออกห้องพักหลวงพ่อคูณ ป้องกันติดเชื้อซ้ำซ้อนจากผู้เข้าเยี่ยม ยัน 1 สัปดาห์ปกติ อนุญาตให้กลับวัดบ้านไร่ได้

21:30 น.อ่างทองน้ำเริ่มลด แต่หลายอำเภอน้ำยังท่วมสูง เฉลี่ย 1-3 เมตร ชาวบ้านตั้งเต็นท์นอนริมถนน กว่า 2 เดือน ต.ศาลาแดง กว่า 100 ครอบครัวเริ่มกลับเข้าบ้าน

22:06 น."ธงทอง" เผยจัดวางแนวบิ๊กแบ็กเสร็จเรียบร้อยแล้ว จากนี้ไปจะเร่งระบายน้ำลงคลองเปรมฯ วอนคนอย่าทำลายบิ๊กแบ็ก เผยเตรียมวางกระสอบทราย 1 แสนใบกู้ถนน 304 บางบัวทอง-สุพรรณ ไว้เป็นเส้นทางสำรองลงภาคใต้

22:23 น.จังหวัดน่านรวมใจ ทำข้าวหลาม สินค้าโอทอประดับ 5 ดาว จำนวน 1 หมื่นกระบอก นำมาแจกช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมให้คลายหิว เผยมีสูตรพิเศษ ไม่ใส่กะทิ จึงสามารถเก็บได้นาน 5-7 วัน

00:25 น.ชาวบ้านลำลูกกาตั้งเงื่อนไข 3 ข้อ จะเลิกประท้วงถ้ารัฐยอมทำตาม ด้าน ผบ.ทบ. ให้ รรก.ผวจ.ปทุมฯ แก้ไขปัญหาอุทกภัย และทำตามแนวทางตามพระราชดำริในหลวง ฝากปลุกจิตสำนึกให้คนไทย

04:29 น.มวลน้ำบนถนนเพชรเกษมฝั่งขาเข้าเริ่มเอ่อเข้าโรงพยาบาลบางไผ่บริเวณซอย 22 แล้วจนต้องสั่งปิดบริการ ข้างโรงพยาบาลกองขยะลอยเกลื่อนกลาดตามน้ำบนถนนส่งกลิ่มเหม็น ส่วนขาออกน้ำใกล้ท่วมแยกท่าพระ ในไม่ช้า

05:15 น.“ลดาวัลลิ์”รับไม่ได้"เอกยุทธ"ดูถูกสาวเหนือผ่านเฟซบุ๊ก กระทบต่อภาพลักษณ์ของหญิงไทยทั่วประเทศ ขึ้นโรงพักแจ้งความข้อหาหมิ่นประมาท แนะชมรมสตรีตบเท้าแจ้งความทุกช่องทางกดดันให้ขอขมา


ขอบคุณข้อมูล ไทยรัฐออนไลน์

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

3G บนคลื่นความถี่ผู้ให้บริการ

ความจริงเทคโนโลยี 3 G ใช่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีใหม่เสียทีเดียว เพราะในประเทศญี่ปุ่นเขาใช้กันมานานกว่า 10 ปีแล้ว แต่สำหรับในประเทศไทยไม่ได้ทำกันง่ายๆ เพราะระบบเดิมที่ให้บริการมานานยังเป็นเทคโนโลยี 2 G อยู่ การจะอัพเกรดให้เป็นระบบ 3 G จึงต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล อีกทั้งยังต้องมีใบอนุญาตให้ทำ 3 G บนย่านความถี่ที่ต้องจัดสรรกันใหม่ ซึ่งจะเปิดให้มีการประมูลโดย กสทช. ช่วงประมาณปี พ.ศ.2555 แต่ดูเหมือนว่าเวลาจะกระชั้นชิดมากเกินไปเมื่อคิดในแง่มุมของผู้ให้บริการ เนื่องจากอายุสัมปทานเดิมใกล้จะหมดลงแล้ว ทุกค่ายโทรศัพท์จึงต้องใช้ความถี่ที่ตนมีอยู่เช่น 850, 900 และ 1900 MHz เปิดทดสอบให้บริการระบบ 3G ในช่วงแรก ก่อนที่จะเปิดให้มีการประมูลใบอนุญาต 3 G โดย กสทช. ครั้นเมื่อถึงเวลานั้นย่านความถี่ระบบ 3 G ก็เชื่อว่าจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยความถี่ที่คาดว่าจะนำมาใช้กับระบบ 3 G น่าจะเป็นช่วงความถี่ 2100 MHz ซึ่งเป็นช่วงความถี่ที่เครื่องโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันรองรับอยู่แล้ว ผู้ใช้ก็ไม่จำเป็นต้องไปคิดอะไรเลย

วิธีเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือให้ตรงกับความถี่และมาตรฐาน 3g ในไทย

ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีในปัจจุบันก็คือ ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจะเลือกซื้อโทรศัพท์มือถืออย่างไรให้รองรับความถี่ 3G ได้ทุกเครือข่าย เพราะหลายคนก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องเลือกซื้อสเปคอย่างไรหรือมีวิธีการดูอย่างไร วิธีการง่ายๆก็คือ ให้ดูที่มาตรฐานของเทคโนโลยี 3 G ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ไลน์หรือ 2 ฝั่ง แต่สำหรับมาตรฐานเทคโนโลยี 3G ที่จะใช้ในประเทศไทยเป็นที่แน่นอนแล้วว่า จะใช้มาตรฐาน UMTS หรือ WCDMA เป็นหลัก เนื่องจากเป็นระบบที่นิยมใช้กันทั่วโลก ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ามีอนาคตที่ดีกว่ามาตรฐาน CDMA จากประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจะซื้อเครื่องโทรศัพท์ก็ให้ดูที่สเปคที่เขาเขียน ว่า UMTS หรือ WCDMA ซึ่งมีย่านความถี่ที่รองรับ 3 G บอกไว้ ตัวอย่างเช่น WCDMA 850/900/1700/1900/2100 MHz ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่รองรับระบบ 3 G ได้ทุกเครือข่าย จากเดิมที่รองรับระบบ GSM ในย่าน Quadband หรือ Triband อยู่แล้ว เช่น Quadband : GSM 850/900/1800/1900 MHz จึงทำให้โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันมี 2 โมด ถ้าผู้ซื้อโทรศัพท์มือถือเช็คสเปคดูแล้วตรงกับย่านความถี่ 3G ของทุกเครือข่าย ก็ไม่ต้องลังเลสงสัยอีกต่อไปแล้ว แต่ทว่าเครื่องโทรศัพท์ที่รองรับระบบ 3 G ได้ทุกเครือข่ายย่อมมีราคาค่อนข้างแพงหรือแพงมาก ซึ่งผู้ซื้อสามารถดูเปรียบเทียบความถี่ของเครื่องโทรศัพท์ให้ตรงกับย่านความ ถี่ 3 G ของค่ายโทรศัพท์ต่างๆ ได้ดังนี้

ความถี่ระบบ 3 G ของค่ายโทรศัพท์มือถือในไทย
Operators2 G2.5G - 2.75Gความถี่เดิม (MHz)1
มาตรฐานเทคโนโลยีมาตรฐานเทคโนโลยี
AISGSMGPRS/EDGE900/1800 MHz
dtacGSMGPRS/EDGE850/1800 MHz
TrueGSMGPRS/EDGE1800 MHz
hutchCDMACDMA2000 1xRTT800 MHz
catCDMA/GSMCDMA2000 1xRTT800/850/1800 MHz
totGSMGPRS/EDGE900/1900 MHz
หมายเหตุ


Operators3 G3.5G - 3.75Gความถี่ (ก่อนประมูล 3จี)
มาตรฐานเทคโนโลยีมาตรฐานเทคโนโลยี
AISUMTS/ WCDMAHSPA(hsdpa) / HSPA+900 MHz
dtacUMTS/ WCDMAHSPA(hsdpa) / HSPA+850 MHz
TrueUMTS/ WCDMAHSPA(hsdpa) / HSPA+850 MHz2
CDMA2000 1xEV-DO800 MHz
catCDMA2000 1xEV-DO
800/850 MHz
totUMTS/ WCDMAHSPA(hsdpa) / HSPA+1900/2100 MHz
หมายเหตุ
Flash-OFDM
Operators3.9 G4 Gความถี่ (MHz)
มาตรฐานเทคโนโลยีมาตรฐานเทคโนโลยี
1LTE (E-UTRA)LTE Advanced2100 MHz
2LTE (E-UTRA)LTE Advanced2100 MHz
3LTE (E-UTRA)LTE Advanced2100 MHz
4LTE (E-UTRA)LTE Advanced2100 MHz
5LTE (E-UTRA)LTE Advanced2100 MHz
หมายเหตุWiMAX (IEEE 802.16e-2005), (IEEE 802.16m)

จากตารางความถี่ 3 G ของค่ายโทรศัพท์มือถือในไทย จะสังเกตเห็นว่าในช่องลำดับต่อมาของแบรนด์ชื่อดังอย่าง Hutch ที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในไทยมานาน ครั้นถึงต้นปี พ.ศ.2554 บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ก็ได้เข้าไปซื้อหุ้นของฮัทช์มูลค่าประมาณ 6300 ล้านบาท ซึ่ง deal ครั้งนี้ทำให้ทรูได้รับสิทธิ์ใช้คลื่นความถี่จาก กสท เพิ่มขึ้นอีกราว 15 ปี จากเดิมที่อายุสัมปทานของ True จะสิ้นสุดลงในปี พ.ศ.2556 จริงอยู่การที่ทรูเข้าไปซื้อหุ้นของฮัทช์ในครั้งนี้เป็นข่าวที่ต้องตรวจสอบ ความจริง อาจไม่เกี่ยวอะไรกับประเด็นที่ตั้งไว้แต่แรก เพราะการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือให้รองรับย่านความถี่ 3 g ของทุกเครือข่ายตามมาตรฐาน 3 G ในไทย ผู้อ่านสามารถดูเปรียบเทียบได้จากตารางข้างบนนี้

อย่างไรก็ตาม เรื่องมาตรฐานเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย และย่านความถี่ 3 G ที่จะนำมาใช้กับระบบของค่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย ย่อมขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ละรายเอง เนื่องจากเป็นเรื่องที่ละเอียดสลับซับซ้อน มีความเป็นมายาวนาน และเกี่ยวข้องกับกฎหมายต่างๆ ผู้อ่านโปรดตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ ละรายอีกครั้ง



อุปกรณ์ที่รองรับ 3G/UMTS

UMTS คืออะไร

UMTS ย่อมาจาก "Universal Mobile Telecommunication System" เป็นเครือข่ายในยุค 3G ที่มีพัฒนาการมาจากเครือข่าย GSM 384 kbit/s, GPRS และ EDGE ซึ่งหลาย ๆ ครั้งอาจเรียกได้ว่าเป็นเครือข่าย W-CDMA โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานด้านการรับ-ส่งข้อมูลที่มาก ขึ้นของลูกค้า เครือข่าย UMTS นั้นจะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงถึง 2 Mbit/sec ซึ่งมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลที่มากกว่าเครือข่าย EDGE ที่ใช้บริการในปัจจุบันถึง 4 เท่า ด้วยเหตุนี้เอง เครือข่าย UMTS จึงเป็นเครือข่ายที่ผู้ให้บริการทั้งหลายต่างคาดหวังว่าจะมาช่วยตอบสนองความ ต้องการด้ารการใช้ข้อมูลของลูกค้า รวมทั้งสร้างรายได้ให้แก่บริษัทเป็นจำนวนมาก
มาตรฐานของ UMTS ในปัจจุบันนั้นมีการเผยแพร่ออกมาแล้ว 4 มาตรฐานด้วยกัน โดยหน่วยงาน 3GPP (3G Partnership Project) รับหน้าที่ในการออกแบบมาตรฐานต่าง ๆ ซึ่งประกอบไปด้วย
Release 99 เป็นมาตรฐานใช้งานที่เพิ่มเติมจากเครือข่าย GPRS และ EDGE

โดยจะมีการเพิ่มเติมอุปกรณ์ในส่วนของ BSS (Base Station Subsystem) ซึ่งเป็นส่วนที่ดูแลการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ ผู้ใช้บริการกับเครือข่ายของผู้ให้บริการ โดยกลุ่มของอุปกรณ์ที่เพิ่มเติมขึ้นมานั้นมีชื่อเรียกว่า UTRAN (UMTS Terrestrial Radio Access Network)
Release 4 เป็นมาตรฐานที่เพิ่มเติมในส่วนของ Core-Network โดยจะมีการนำเครือข่ายแบบ ATM (Asynchronous Transfer Mode) และ IP ซึ่งเป็นการรับ-ส่งข้อมูลแบบเป็น Packet เข้ามาใช้งานแทนเครือข่ายแบบ Circuit Switched ที่ใช้งานอยู่ในเครือข่าย GSM ในปัจจุบัน
Release 5 เป็นมาตรฐานที่เพิ่มเติมในส่วนของ IMS (IP Multimedia Service) โดยการทำงานของ IMS จะช่วยให้การใช้งานแบบ Multimedia ในลักษณะของ Person to Person มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
Release 6 เป็นมาตรฐานที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบมากนัก เพียงแต่เพิ่มความสามารถในการทำงานของการจดจำคำพูด (Speech Recognition), Wi-Fi / UMTS inter-working (การสื้อสารระหว่างเครือข่าย Wireless LAN กับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่)
ซึ่งปัจจุบันผู้ให้บริการมีการนำมาใช้งานในการรับ-ส่งข้อมูลหากพื้นที่ใดที่ไม่สามารถใช้ 3G ได้นั้น จะมีอุปกรณ์ที่เป็น AirCard ที่รองรับ UMTS ความเร็ว 384 kbit/s ซึ่ง EDGE ความเร็ว 236.8 kbit/s
ผู้ให้บรการตอนนี้ส่วนใหญ่จะรองรับ 3G ความถี่ 900MHz และ 2100MHz
























































gmail ปรับโฉมใหม่สวยว่าเดิม

มีอะไรใหม่ขึ้นมาก

โดยคุณลักษณะเด่นที่เพิ่มเข้ามาใหม่ คือ การกำหนดขนาดพื้นที่การใช้งานด้วยตัวคุณเอง เพิ่มหรือลด space และแสดงผลบนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเลตได้ดีขึ้น เพิ่มการตกแต่งธีม รองรับพื้นหลังแบบเอชดี  (HD flavoured backgrounds) และในส่วนของการค้นหาที่ทำได้ง่ายดายและรวดเร็วมากขึ้น  นอกจากนี้ยังปรับเปลี่ยน Google Reader RSS ที่ทำงานร่วมกับ Google+ เพื่อติดตามการอัพเดทเรื่องราวที่แชร์ผ่าน G+ กูเกิ้ลโซเชี่ยลนั่นเอง!!