วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

3G บนคลื่นความถี่ผู้ให้บริการ

ความจริงเทคโนโลยี 3 G ใช่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีใหม่เสียทีเดียว เพราะในประเทศญี่ปุ่นเขาใช้กันมานานกว่า 10 ปีแล้ว แต่สำหรับในประเทศไทยไม่ได้ทำกันง่ายๆ เพราะระบบเดิมที่ให้บริการมานานยังเป็นเทคโนโลยี 2 G อยู่ การจะอัพเกรดให้เป็นระบบ 3 G จึงต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล อีกทั้งยังต้องมีใบอนุญาตให้ทำ 3 G บนย่านความถี่ที่ต้องจัดสรรกันใหม่ ซึ่งจะเปิดให้มีการประมูลโดย กสทช. ช่วงประมาณปี พ.ศ.2555 แต่ดูเหมือนว่าเวลาจะกระชั้นชิดมากเกินไปเมื่อคิดในแง่มุมของผู้ให้บริการ เนื่องจากอายุสัมปทานเดิมใกล้จะหมดลงแล้ว ทุกค่ายโทรศัพท์จึงต้องใช้ความถี่ที่ตนมีอยู่เช่น 850, 900 และ 1900 MHz เปิดทดสอบให้บริการระบบ 3G ในช่วงแรก ก่อนที่จะเปิดให้มีการประมูลใบอนุญาต 3 G โดย กสทช. ครั้นเมื่อถึงเวลานั้นย่านความถี่ระบบ 3 G ก็เชื่อว่าจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยความถี่ที่คาดว่าจะนำมาใช้กับระบบ 3 G น่าจะเป็นช่วงความถี่ 2100 MHz ซึ่งเป็นช่วงความถี่ที่เครื่องโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันรองรับอยู่แล้ว ผู้ใช้ก็ไม่จำเป็นต้องไปคิดอะไรเลย

วิธีเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือให้ตรงกับความถี่และมาตรฐาน 3g ในไทย

ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีในปัจจุบันก็คือ ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจะเลือกซื้อโทรศัพท์มือถืออย่างไรให้รองรับความถี่ 3G ได้ทุกเครือข่าย เพราะหลายคนก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องเลือกซื้อสเปคอย่างไรหรือมีวิธีการดูอย่างไร วิธีการง่ายๆก็คือ ให้ดูที่มาตรฐานของเทคโนโลยี 3 G ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ไลน์หรือ 2 ฝั่ง แต่สำหรับมาตรฐานเทคโนโลยี 3G ที่จะใช้ในประเทศไทยเป็นที่แน่นอนแล้วว่า จะใช้มาตรฐาน UMTS หรือ WCDMA เป็นหลัก เนื่องจากเป็นระบบที่นิยมใช้กันทั่วโลก ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ามีอนาคตที่ดีกว่ามาตรฐาน CDMA จากประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจะซื้อเครื่องโทรศัพท์ก็ให้ดูที่สเปคที่เขาเขียน ว่า UMTS หรือ WCDMA ซึ่งมีย่านความถี่ที่รองรับ 3 G บอกไว้ ตัวอย่างเช่น WCDMA 850/900/1700/1900/2100 MHz ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่รองรับระบบ 3 G ได้ทุกเครือข่าย จากเดิมที่รองรับระบบ GSM ในย่าน Quadband หรือ Triband อยู่แล้ว เช่น Quadband : GSM 850/900/1800/1900 MHz จึงทำให้โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันมี 2 โมด ถ้าผู้ซื้อโทรศัพท์มือถือเช็คสเปคดูแล้วตรงกับย่านความถี่ 3G ของทุกเครือข่าย ก็ไม่ต้องลังเลสงสัยอีกต่อไปแล้ว แต่ทว่าเครื่องโทรศัพท์ที่รองรับระบบ 3 G ได้ทุกเครือข่ายย่อมมีราคาค่อนข้างแพงหรือแพงมาก ซึ่งผู้ซื้อสามารถดูเปรียบเทียบความถี่ของเครื่องโทรศัพท์ให้ตรงกับย่านความ ถี่ 3 G ของค่ายโทรศัพท์ต่างๆ ได้ดังนี้

ความถี่ระบบ 3 G ของค่ายโทรศัพท์มือถือในไทย
Operators2 G2.5G - 2.75Gความถี่เดิม (MHz)1
มาตรฐานเทคโนโลยีมาตรฐานเทคโนโลยี
AISGSMGPRS/EDGE900/1800 MHz
dtacGSMGPRS/EDGE850/1800 MHz
TrueGSMGPRS/EDGE1800 MHz
hutchCDMACDMA2000 1xRTT800 MHz
catCDMA/GSMCDMA2000 1xRTT800/850/1800 MHz
totGSMGPRS/EDGE900/1900 MHz
หมายเหตุ


Operators3 G3.5G - 3.75Gความถี่ (ก่อนประมูล 3จี)
มาตรฐานเทคโนโลยีมาตรฐานเทคโนโลยี
AISUMTS/ WCDMAHSPA(hsdpa) / HSPA+900 MHz
dtacUMTS/ WCDMAHSPA(hsdpa) / HSPA+850 MHz
TrueUMTS/ WCDMAHSPA(hsdpa) / HSPA+850 MHz2
CDMA2000 1xEV-DO800 MHz
catCDMA2000 1xEV-DO
800/850 MHz
totUMTS/ WCDMAHSPA(hsdpa) / HSPA+1900/2100 MHz
หมายเหตุ
Flash-OFDM
Operators3.9 G4 Gความถี่ (MHz)
มาตรฐานเทคโนโลยีมาตรฐานเทคโนโลยี
1LTE (E-UTRA)LTE Advanced2100 MHz
2LTE (E-UTRA)LTE Advanced2100 MHz
3LTE (E-UTRA)LTE Advanced2100 MHz
4LTE (E-UTRA)LTE Advanced2100 MHz
5LTE (E-UTRA)LTE Advanced2100 MHz
หมายเหตุWiMAX (IEEE 802.16e-2005), (IEEE 802.16m)

จากตารางความถี่ 3 G ของค่ายโทรศัพท์มือถือในไทย จะสังเกตเห็นว่าในช่องลำดับต่อมาของแบรนด์ชื่อดังอย่าง Hutch ที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในไทยมานาน ครั้นถึงต้นปี พ.ศ.2554 บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ก็ได้เข้าไปซื้อหุ้นของฮัทช์มูลค่าประมาณ 6300 ล้านบาท ซึ่ง deal ครั้งนี้ทำให้ทรูได้รับสิทธิ์ใช้คลื่นความถี่จาก กสท เพิ่มขึ้นอีกราว 15 ปี จากเดิมที่อายุสัมปทานของ True จะสิ้นสุดลงในปี พ.ศ.2556 จริงอยู่การที่ทรูเข้าไปซื้อหุ้นของฮัทช์ในครั้งนี้เป็นข่าวที่ต้องตรวจสอบ ความจริง อาจไม่เกี่ยวอะไรกับประเด็นที่ตั้งไว้แต่แรก เพราะการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือให้รองรับย่านความถี่ 3 g ของทุกเครือข่ายตามมาตรฐาน 3 G ในไทย ผู้อ่านสามารถดูเปรียบเทียบได้จากตารางข้างบนนี้

อย่างไรก็ตาม เรื่องมาตรฐานเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย และย่านความถี่ 3 G ที่จะนำมาใช้กับระบบของค่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย ย่อมขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ละรายเอง เนื่องจากเป็นเรื่องที่ละเอียดสลับซับซ้อน มีความเป็นมายาวนาน และเกี่ยวข้องกับกฎหมายต่างๆ ผู้อ่านโปรดตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ ละรายอีกครั้ง



อุปกรณ์ที่รองรับ 3G/UMTS

UMTS คืออะไร

UMTS ย่อมาจาก "Universal Mobile Telecommunication System" เป็นเครือข่ายในยุค 3G ที่มีพัฒนาการมาจากเครือข่าย GSM 384 kbit/s, GPRS และ EDGE ซึ่งหลาย ๆ ครั้งอาจเรียกได้ว่าเป็นเครือข่าย W-CDMA โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานด้านการรับ-ส่งข้อมูลที่มาก ขึ้นของลูกค้า เครือข่าย UMTS นั้นจะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงถึง 2 Mbit/sec ซึ่งมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลที่มากกว่าเครือข่าย EDGE ที่ใช้บริการในปัจจุบันถึง 4 เท่า ด้วยเหตุนี้เอง เครือข่าย UMTS จึงเป็นเครือข่ายที่ผู้ให้บริการทั้งหลายต่างคาดหวังว่าจะมาช่วยตอบสนองความ ต้องการด้ารการใช้ข้อมูลของลูกค้า รวมทั้งสร้างรายได้ให้แก่บริษัทเป็นจำนวนมาก
มาตรฐานของ UMTS ในปัจจุบันนั้นมีการเผยแพร่ออกมาแล้ว 4 มาตรฐานด้วยกัน โดยหน่วยงาน 3GPP (3G Partnership Project) รับหน้าที่ในการออกแบบมาตรฐานต่าง ๆ ซึ่งประกอบไปด้วย
Release 99 เป็นมาตรฐานใช้งานที่เพิ่มเติมจากเครือข่าย GPRS และ EDGE

โดยจะมีการเพิ่มเติมอุปกรณ์ในส่วนของ BSS (Base Station Subsystem) ซึ่งเป็นส่วนที่ดูแลการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ ผู้ใช้บริการกับเครือข่ายของผู้ให้บริการ โดยกลุ่มของอุปกรณ์ที่เพิ่มเติมขึ้นมานั้นมีชื่อเรียกว่า UTRAN (UMTS Terrestrial Radio Access Network)
Release 4 เป็นมาตรฐานที่เพิ่มเติมในส่วนของ Core-Network โดยจะมีการนำเครือข่ายแบบ ATM (Asynchronous Transfer Mode) และ IP ซึ่งเป็นการรับ-ส่งข้อมูลแบบเป็น Packet เข้ามาใช้งานแทนเครือข่ายแบบ Circuit Switched ที่ใช้งานอยู่ในเครือข่าย GSM ในปัจจุบัน
Release 5 เป็นมาตรฐานที่เพิ่มเติมในส่วนของ IMS (IP Multimedia Service) โดยการทำงานของ IMS จะช่วยให้การใช้งานแบบ Multimedia ในลักษณะของ Person to Person มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
Release 6 เป็นมาตรฐานที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบมากนัก เพียงแต่เพิ่มความสามารถในการทำงานของการจดจำคำพูด (Speech Recognition), Wi-Fi / UMTS inter-working (การสื้อสารระหว่างเครือข่าย Wireless LAN กับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่)
ซึ่งปัจจุบันผู้ให้บริการมีการนำมาใช้งานในการรับ-ส่งข้อมูลหากพื้นที่ใดที่ไม่สามารถใช้ 3G ได้นั้น จะมีอุปกรณ์ที่เป็น AirCard ที่รองรับ UMTS ความเร็ว 384 kbit/s ซึ่ง EDGE ความเร็ว 236.8 kbit/s
ผู้ให้บรการตอนนี้ส่วนใหญ่จะรองรับ 3G ความถี่ 900MHz และ 2100MHz
























































gmail ปรับโฉมใหม่สวยว่าเดิม

มีอะไรใหม่ขึ้นมาก

โดยคุณลักษณะเด่นที่เพิ่มเข้ามาใหม่ คือ การกำหนดขนาดพื้นที่การใช้งานด้วยตัวคุณเอง เพิ่มหรือลด space และแสดงผลบนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเลตได้ดีขึ้น เพิ่มการตกแต่งธีม รองรับพื้นหลังแบบเอชดี  (HD flavoured backgrounds) และในส่วนของการค้นหาที่ทำได้ง่ายดายและรวดเร็วมากขึ้น  นอกจากนี้ยังปรับเปลี่ยน Google Reader RSS ที่ทำงานร่วมกับ Google+ เพื่อติดตามการอัพเดทเรื่องราวที่แชร์ผ่าน G+ กูเกิ้ลโซเชี่ยลนั่นเอง!!