ตอนนี้ IEEE 802.16a เป็นมาตรฐานที่แก้ไขปรับปรุงจาก
IEEE 802.16 โดยใช้งานที่ความถี่
2-11 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งคุณสมบัติเด่นที่ได้รับการแก้ไขจากมาตรฐาน
802.16 เดิมคือคุณสมบัติการรองรับการทำงานแบบที่ไม่อยู่ในระดับสายตา
(NLoS - Non-Line-of-Sight) ทั้งยังมีคุณสมบัติการทำงานเมื่อมีสิ่งกีดขวาง
เช่น ต้นไม้ อาคาร ฯลฯ นอกจากนี้ก็ยังช่วยให้สามารถขยายระบบเครือข่ายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้ สายความเร็วสูงได้อย่างกว้างขวางด้วยรัศมีทำการที่ไกลถึง
30 ไมล์ (ประมาณ 48 กิโลเมตร)
และมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที
(Mbps) ทำให้สามารถรองรับการเชื่อมต่อการใช้งานระบบเครือข่ายของบริษัทที่ใช้สาย
ประเภท ที1 (T1-type) กว่า 60 ราย และการเชื่อมต่อแบบ DSL ตามบ้านเรือนที่พักอาศัยอีกหลายร้อยครัวเรือนได้พร้อมกันโดยไม่เกิดปัญหาในการใช้งาน
สำหรับมาตรฐานของเทคโนโลยี WiMAX ที่มีการพัฒนาขึ้นมาในขณะนี้นั้น มีดังต่อไปนี้
IEEE 802.16 เป็นมาตรฐานที่ให้ระยะทางการเชื่อมโยง 1.6 – 4.8 กิโลเมตร เป็นมาตรฐานเดียวที่สนับสนุน LoS (Line of Sight) โดยมีการใช้งานในช่วงความถี่ที่สูงมากคือ 10-66 กิกะเฮิรตซ์ (GHz)
- IEEE 802.16a เป็น มาตรฐานที่แก้ไขปรับปรุง จาก IEEE 802.16 เดิม โดยใช้งานที่ความถี่ 2-11 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งคุณสมบัติเด่น ที่ได้รับการแก้ไขจากมาตรฐาน 802.16 เดิมคือคุณสมบัติการรองรับการทำงานแบบที่ไม่อยู่ในระดับสายตา ( NLoS - Non-Line-of-Sight) ทั้งยังมีคุณสมบัติการทำงาน เมื่อมีสิ่งกีดขวาง อาทิเช่น ต้นไม้, อาคาร ฯลฯ นอกจากนี้ ก็ยังช่วยให้สามารถขยายระบบเครือข่าย เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง ได้อย่างกว้างขวางด้วยรัศมีทำการที่ไกลถึง 31 ไมล์ หรือ ประมาณ 48 กิโลเมตร และ มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ทำให้สามารถรองรับ การเชื่อมต่อการใช้งานระบบเครือข่ายของบริษัท ที่ใช้สายประเภท ที1 (T1-type) กว่า 60 ราย และการเชื่อมต่อแบบ DSL ตามบ้านเรือนที่พักอาศัย อีกหลายร้อยครัวเรือนได้พร้อมกันโดยไม่เกิดปัญหาในการใช้งาน
- IEEE 802.16e เป็นมาตรฐานที่ออกแบบม าให้สนับสนุนการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์พกพาประเภทต่างๆ เช่น อุปกรณ์พีดีเอ โน้ตบุ๊ก เป็นต้น โดยให้รัศมีทำงานที่ 1.6 – 4.8 กิโลเมตร มีระบบที่ช่วยให้ผู้ใช้งาน ยังสามารถสื่อสารได้โดยให้คุณภาพในการสื่อสารที่ดี และมีเสถียรภาพขณะใช้งาน แม้ว่ามีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาก็ตาม
มีการให้บริการ WiMax!
โดยใช้อุปกรณ์ UBiQUiTi (ยูบิ-คิวตี้) ซึ่งปัจจุบันมีบางพื้นที่ได้ติดตั้งและให้บริการ WiMax มีการใช้งาน UBiQUiTi (ยูบิ-คิวตี้) Nano-Bridge M5 เป็นตัวส่งสัญญานให้แก่ผู้ให้บริการ
ฝั่งรับให้ตัว Ubiquiti NanoStation LocoM2 Wireless A/P ภายนอกอาคาร ความถี่ 2.4GHz ความเร็ว 150Mbps กำลังส่ง 200mW
UBiQUiTi
NanoStation loco M2 Outdoor Wireless Access Point
รายละเอียด (Product
Specification)
- ย่านความถี่ 2.4GHz, กำลังส่ง 200 mW (23dBm) Hi-Power
- ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูง 150+ Mbps ด้วยเทคนิคเสาอากาศแบบ MIMO (Multiple Input Multiple Output)
- เสาอากาศแบบ Panel Antenna Array อยู่ภายในอุปกรณ์ (Built-In) ขนาด 8dBi จำนวน 2 ชุด ใช้เทคนิค MIMO เพิ่มระยะทางและความเร็ว
- หน่วยความจำขนาดใหญ่ SDRAM 32MB และ FLASH 8MB รองรับผู้ใช้ได้จำนวนมากมีความเสถียรสูง
- การจ่ายไฟเลี้ยงผ่านสายแลน PoE (Power Over Ethernet) ได้ความยาวสาย 70-80 เมตร (ต้องไม่ใช้สายปลอมคุณภาพต่ำ)
- ไฟ LED แสดงสถานะการทำงาน, ความเข้มสัญญาณ (Signal Strength Display) ให้ทราบผลการเชื่อมต่อ
- ระบบความปลอดภัยของไวเลส WEP, WPA, WPA2 มาตราฐาน IEEE 802.11i และ MAC filter
- การเซ็ตอัพผ่าน web page ง่ายสะดวก
- มี 1 พอร์ทแลน RJ-45 ความเร็ว 10/100 Fast Ethernet
- ขนาด 163x80x30 มม. น้ำหนักเบา 1800 กรัม
- วัสดุแข็งแรงทนต่อสภาพอากาศ ความร้อน แสงแดด ฝน ความชื้น และฝุ่นละออง (Outdoor UV Stabalized Plastic) ทำงานได้แม้ขณะฝนตกหนัก
- สามารถทำงานได้ที่อุณหภูมิต่ำสุด -30oC สูงสุด 80oC
- ติดตั้งง่ายด้วยชุดรัดกับเสา
- กรณีติดตั้งที่โล่งแจ้ง แนะนำใช้ ESA-7500 Surge Arresstor กันฟ้าผ่า ไฟกระชาก เพิ่มในระบบ
- ใช้ เชื่อมโยงเครือข่ายระยะไกลแบบไร้สาย Point to Point หรือ Point to Multipoint แทนการเดินสายแลน,จานไมโครเวฟ, สายไฟเบอร์ออฟติก ซึ่งราคาสูงติดตั้งยากลำบาก
- นำไปใช้ เชื่อมลิงค์ระหว่างอาคารหรืออุปกรณ์ที่ต้องการความเร็วและความเสถียรสูง เช่น กล้องวงจรปิดแบบไร้สายระยะไกล, ให้บริการ WiFi-Hotspot รีสอร์ท โรงเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น