CloudFlare – เร่งความเร็วเว็บไซต์ แรงสุดสุด และฟรี
สวัสดีครับวันนี้ผมมีเว็บไซต์ ที่มีบริการดีๆ มาฝากกันครับ ชื่อว่า CloudFlare ซึ่งเว็บนี้บริการ Domain Name Server คล้ายๆ OpenDNS นั่นละครับ ที่จะจัดการ Name Server ให้เราซึ่งตัว คลาวแฟร์ ตัวนี้จะดีกว่าตรงที่ จะช่วยปกป้องเว็บไซต์เรา และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงของเว็บไซต์ของเราครับ ด้วย CDN : Content Delivery Network ที่กระจายอยู่ทั่วโลก (13 แห่งสามารถดูได้ที่ System Status)CloudFlare ผู้ให้บริการรักษาความปลอดภัย และเร่งประสิทธิภาพการโหลดหน้าเว็บไซต์ บนบริการกลุ่มเมฆ มีทั้งแบบฟรีและเสียตังค์ (cloud-based services) คล้ายกับ GoogleCDN (Page Speed Service) ในเรื่องเร่งประสิทธิภาพการโหลด
ปกติส่วนมากแล้ว webmaster ก็จะหา plug-ins ต่างๆ มาติดตั้งที่เว็บไซต์เพื่อป้องกัน spam หากใช้ CloudFlare ก็ไม่จำเป็นแล้วครับ
- ปัองกันการโจมตีจาก hacker (DDoS, SQL injection)
- ป้องกันพวกสแปมบอท (Spam Posting) ซึ่งใช้ฐานข้อมูลจากโครงการอันนี่บอท (Project Honey Pot’s database)
- สามารถตั้งค่า Security ได้ (Security Level)
- Web Optimization ด้วย Rocket Loader
- ฟรี Traffic analytics
- ติดตั้ง apps เช่น Clicky, Google Analytics, Blitz ง่ายๆ ด้วย one-click install
แบบไม่ใช้บริการ Cloudflare (แบบปกติ)
- กรณีผู้ชมปกติ (Good Visitor) ก็จะเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณโดยตรง
- กรณีเป็นบอทเก็บข้อมูล (Bot/Crawlers) ก็จะเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณโดยตรง
- กรณีเป็นผู้ก่อการร้าย (Bad Visitor /Attrackers) เข้าถึงเว็บไซต์ของคุณโดยตรงเช่นกัน (ไม่ปลอดภัย)
- กรณีผู้ชมปกติ (Good Visitor) ก็จะเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณโดยผ่าน CloudFlare ที่กระจายอยู่ทั่วโลก
- กรณีเป็นบอทเก็บข้อมูล (Bot/Crawlers) ก็จะเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณโดยตรงโดยผ่าน CloudFlare ที่กระจายอยู่ทั่วโลก
- กรณีเป็นผู้ก่อการร้าย (Bad Visitor /Attrackers) จะไม่สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณโดยตรง เนื่องจาก ClousFlare จะช่วย Detect ให้
CDN : Content Delivery Network (ระบบเครือข่ายการจายเนื้อหา)
ระบบ CloudFlare นั้นจะใช้ CDN อยู่ทั่วโลกตามแผนที่ที่เห็นในรูปนะครับซึ่งเราสามารถไปสถานะดูได้ซึ่งการ ที่ได้ใช้ CDN และช่วยประหยัด BW แบนด์วิดท์ของเว็บไซต์ไปด้วยในการโหลดซ้ำอีกทั้งเวลาที่เว็บไซต์ (จริง) ล่มถ้าเราใช้บริการ CloudFlare นั้นเราเซิร์ฟเวอร์ชื่อชี้ไปที่ NS ของ CloudFlare ซึ่งเขาจะแคชเซฟเว็บหน้าล่าสุดไว้ทำให้เว็บจริง ล่ม แต่เว็บไม่เป็นหน้าขาวเนื่องจากระบบของ CloudFlare มันฟ้องว่าข้อผิดพลาดข้อผิดพลาดภายในเซิร์ฟเวอร์ 501 แต่หน้าเว็บไม่ขาว CloudFlare ช่วยไว้ ได้ แต่จะขึ้นเตือนไว้ว่า “หน้าที่คุณเห็นอยู่นี้เป็นหน้าแคชของคลาว์นแฟลร์นะ” ตรงข้างบนสุดของเว็บไซต์
- ไม่ต้องตั้งค่าให้ยุ่งยาก เพียงแค่ชี้ Name Server มาที่ CloudFlare เท่านั้นจบ !
- สามารถทำงานร่วมกับเว็บที่มีเนื้อหาคงที่พวก HTML ได้ และเว็บที่มีเนื้อหาไม่คงที่ได้พวก PHP และอื่นๆ
- มั่นใจได้เลยว่าเว็บจะออนไลน์ทำงานอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากจะมีระบบ Cache เก็บเว็บไซต์เสมอๆ
- ช่วย ติดตาม ป้องกัน ต่อต้านผู้ไม่หวังดี ที่กำลังเข้าถึงเว็บของคุณ (ในระดับหนึ่ง)
- สามารถใช้ IPV6 ได้อัตโนมัติโดย (ผมยังไม่ทราบแน่ชัดกับเรื่องนี้นะครับ ^^)
- การันตีที่ระดับ 99.999% สุดยอดเพราะระบบ Cache นั้นเองที่ช่วยให้เว็บออนไลน์ตลอดเวลา
- สามารถทำงานร่วมกับ CDN อื่นๆได้โดยปกติ
Rocket Loader (รวดเร็วเปรียบเสมือนเว็บติดจรวด)
ซึ่งทางเทคนิคจใช้การ เร่งประสิทธิภาพของ CSS และ JavaScript ต่างๆ จำพวก Google Adsense, Facebook gadget, Twitter gadget รวมไปถึงเว็บที่ต้องใช้ CSS ในการจัด layouts ต่างๆ ด้วยซึ่งผมคิดว่าระบบ ClodFlare น่าจะจดจำว่า อันไหนใช้บ่อยๆ เดิมๆ ก็จะทำการเก็บ Cache ไว้ทำให้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยลดจำนวนการ request ไปยัง server หลักของเราครับ
- สามารถ เปิด-ปิดได้อย่างง่ายดาย กรณีที่เรากำลังพัฒนาเว็บเราต้องการ Real-time response ครับ
- จำกัดอัตโนมัติ ก็คือจัดการพวก CSS, JavaScript ของเว็บไซต์ครับผม
- ไม่ต้องติดตั้งอะไรเพิ่มเติม ดีที่ต้องนี้อีกละครับผม ฮาๆ
- ใช้ GZip ในการช่วยบีบอัด CSS เว็บไซต์
- รองรับการใช้งานผ่าน อุปกรณ์มือถือ Mobile ต่างๆ
CloudFlare Security (ระบบความปลอดภัย)
ถือว่าเป็นตัวชูโรงเลยนะครับ เป็นความสามารถหลักเลยก็ว่าได้ ที่สามารถจัดการด้านความปลอดภัยได้ ซึ่งก็จะเป็ลักษณะกราฟ ดังกล่าวละครับ ซึ่งกราฟสีเขียวแทน BW ที่มาจาก Good Visitor กับ Bot ส่วนสีแดงมาจาก Attackers ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจน ในระดับ IP ที่บ่งบอกถึงภูมิภาคและลักษณะพฤติกรรมที่โจมตีเว็บไซต์
- สามารถแสดง การโจมตี ทั้งหมดได้ แบ่งตามประเทศเลยละครับ ^^
- รองรับ Browser ทุกชนิดครับผม
- จะมีการสร้าง ฐานข้อมูลของผู้เยี่ยมชม
- เราสามารถ Block IP ได้ สร้าง White List กับ Black List ได้ครับผม
- ช่วยลดจำนวนการโอน-ถ่ายข้อมูลของเว็บไซต์ Bandwidth
CloudFlare Analytic (สถิติของเว็บไซต์)
ตัวนี้ก็ถือเป็นคุณสมบัติเด่นของ Cloudflare เลยก็ว่าได้ครับ แต่มันจะเก็บข้อมูลไม่ Real-time เหมือน Google analytics ซึ่งเราสามารถดูสถิติได้ส่วนหนึ่งละครับ ไม่ค่อยละเอียดเท่าไหร่ เนื่องจากเขาจะเก่งในเรื่องของการจัดการ Attackers มากกว่า เขาเลยให้ความสนใจไปที่ Visitors ที่เข้าชมเว็บของเรา และพฤติกรรมของ Visitors ด้วยครับผม
วิธีการสมัครและการเพิ่มเว็บไซต์
- ก่อนอื่นเลยก็ต้องสมัคร Register กับเว็บ CloudFlare ก่อนครับ จากนั้นก็ Verify E-mail ครับ
- ต่อไปเป็นการ Add Web site ก็ให้ทำการขั้นตอนที่บอกไว้ครับ ทีละ Step ไม่ยากครับ
- ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า ให้ เปลี่ยน Name Server ของ Domain นั้นมาที่ Name Server ของ CloudFlare ที่เตรียมไว้
- จากนั้นก็ตรวจสอบว่ามี Record อะไรบ้าง ที่จะใช้ enable/disable คุณสมบัติของ CloudFlare ครับผม
- สามารถ login เข้าจัดการโดเมนของตัวเองได้ (สามารถขอ username/password จากผู้ให้บริการ hosting ได้)
- หรือแจ้งให้ผู้บริการ hosting เปลื่ยน name server ให้เอง
- เปรียบเทียบก่อนและหลัง (Original load time และ Optimized load time) ได้ที่ http://www.webpagetest.org/compare
หลังจากติดตั้งและใช้บริการ CloudFlare เราจะได้อะไร?
- เว็บโหลดรวดเร็วขึ้น
- ใช้แบนด์วิธน้อยกว่า 60%
- มีการร้องขอที่น้อยลง 65%
- เพิ่มความปลอดภัยให้กับเว็บไซต์มากขึ้น
หากเราสมัครใช้ Clicky ก่อนหน้านี้อยู่แล้วก็เพี่ยงแค่นำ Site ID (Preferences > Site information) มาใส่ที่ CloudFlare Clicky app จากนั้นคลิก Submit
ทดสอบใช้บริการจาก Blitz
Blitz คือ เว็บไซต์ที่ให้บริการเกี่ยวกับการทดสอบความเร็วในการโหลด และประสิทธิภาพของเว็บไซต์เรา
ในการทดสอบประสิทธิภาพ (rush) เราจำเป็นต้องอนุญาต app (Blitz) ในการตรวจสอบโดยวิธีการเพิ่ม txt ไฟล์โดยมี content ภายในเป็น 42
จากนั้นอับโหลดไฟล์ไปยัง www root directory ของเว็บไซต์เรา เพื่อให้เว็บไซต์เรามีการส่งข้อมูลกลับ “42″ สำหรับใช้ในการตรวจสอบ
การตรวจสอบ
curl --dump-header - http://www.mydomain.net/mu-44bf8430-786f58e9-4fef0c74-d9b123456 |
เริ่มต้นทดสอบ
[1] RUN http://mydomain.net
[2] sprint -A – http://www.mydomain.net
[3] convert this sprint into a rush –pattern 1-250:60 http://www.mydomain.net
Cannot rush CloudFlare servers
ลองอีกครั้ง
-p 1-250:60 -H ‘Host: direct.mydomain.net’ http://11.22.33.44
การ Rushing (load test) โดยไม่ผ่าน CloudFlare proxy server
-p 1-250:60 -H ‘Host: direct.mydomain.net’ http://11.22.33.44
11.22.33.44 คือ IP address ของเซิร์ฟเวอร์คุณ (hosting)
NOTE [2] หลังจากได้ทดสอบเสร็จสิ้นแล้วให้ลบไฟล์ที่อับโหลดขึ้นทิ้งไป
หลังจากที่เรา update name server แล้ว สักพักจะได้รับเมลแจ้งการ updated แล้วจากทาง CloudFlare
NOTE [3] CloudFlare มี Plug-in สนับสนุน WordPress ด้วยเพื่อ Optimizer ผ่าน API Key
การยกเลิกใช้บริการ CloudFlare
- ง่ายๆ เพียงแค่เปลื่ยน name server กลับเท่านั้นเองครบ
ขอบคุณที่มารูปภาพ และเนื้อหา : CloudFlare, comseeit.com, blog.susethailand.com
Tags: CDN, CloudFlare, Content Delivery Network, Domain Name Server, Name Server
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น